ตารางคะแนนเอเรอดีวีซีฮอลแลนด์

สร้างตำนานให้กับวงการฟุตบอลได้ทั้งกับลีกตัวเอง, สโมสร และบรรดาสุดยอดดาวเตะที่เติบโตขึ้นจากเอเรอดีวีซีฮอลแลนด์ ตั้งแต่ยุค โยฮัน ครัฟฟ์, มาร์โก แวน บาสเท่น, รุด กุลลิท, เดนนิส เบิร์กแคมป์, เอ็ดการ์ ดาวิดส์, คลาเรนซ์ เซดอร์ฟ, ยาป สตัม, รุด ฟาน นิสเตลรอย, เดิร์ก เค้าท์, เวสลี่ย์ สไนเดอร์, อาร์เยน ร็อบเบน เรื่อยมาจนปัจจุบันกับ เฟอร์จิล ฟาน ไดค์, เมมฟิส เดอปาย, จอร์จินโย่ ไวจ์นัลดุม หรือ เฟรงกี้ เดอ ยอง

นี่คือลีกสูงสุดของแดนกังหันที่เริ่มสาดแข้งกันมาตั้งแต่ปี 1888 ก่อนเปลี่ยนชื่อมาเป็นลีกอาชีพเต็มตัว “เอเรอดีวีซี” ตั้งแต่ 1956 เป็นต้นมา

เอเรอดีวีซี

ระบบการแข่งขันฮอลแลนด์เอเรอดีวีซี

ตารางคะแนนฮอลแลนด์เอเรอดีวีซี เป็นลีกที่ประกอบด้วย 18 สโมสรสมาชิกแต่ไหนแต่ไรมา ซึ่งรูปแบบการคัดทีมเข้าเล่นรายการยุโรป มีข้อแตกต่างจากลีกใหญ่รายอื่นๆ เล็กน้อย โดยตอนนี้พวกเขาได้โควตาแชมเปี้ยนส์ ลีก น้อยหน่อยแค่ 2 ที่ คือแชมป์กับรองแชมป์ ส่วนอันดับ 3 ไปยูโรป้า คอนเฟอเรนซ์ ลีก จากนั้นอันดับ 4-7 จะต้องไปเตะเพลย์ออฟร่วมกันอีกทีเพื่อชิงตั๋วอีกใบของ ยูโรป้า คอนเฟอเรนซ์ ลีก ด้านทีมตกชั้น 2 อันดับสุดท้าย (17-18) ร่วงสู่เอิร์สเต้ดิวิซี่โดยอัตโนมัติ ส่วนอันดับ 16 เพลย์ออฟชี้ชะตากับผู้ชนะเพลย์ออฟของลีกรอง

10 สโมสรน่าจับตา

แม้เอเรอดีวีซีจะมีทีมทั้งหมด 18 ราย แต่ที่ประสบความสำเร็จไปถึงแชมป์ในยุคเปลี่ยนระบบ ปี 1956 เป็นต้นมา มีอยู่แค่ 10 ทีม โดยนอกจาก “บิ๊กทรี” อาแจ็กซ์ (28 แชมป์), พีเอสวี (21) และ เฟเยนูร์ด (10) แล้ว ก็มี อาแซด อัล์คมาร์ (2), สปาร์ต้า ร็อตเตอร์ดัม, วิลเล่ม ทเว, ทเวนเต้, ดีโอเอส, ดีดับเบิ้ลยูเอส และ ราปิด เจซี ที่ได้มาคนละ 1 สมัย เท่านั้น

  • อาแซด อัล์คมาร์ (Alkmaar Zaanstreek)

ทีมอายุแค่ 55 ปี (ก่อตั้ง 1967) มีแชมป์ติดมือ 2 สมัย แชมป์เคเอ็นวีบี คัพ 4 สมัย รวมถึงเคยเข้าชิงยูฟ่า คัพ ปี 1981 (แพ้ อิปสวิช สกอร์รวม 4-5) ทั้งนี้ซีซั่นที่แล้ว อาแซด อัล์คมาร์ เข้าป้ายอันดับ 5 และชนะเพลย์ออฟเหนือ วิเทสส์ อาร์เนม สกอร์รวม 7-3 ทำให้ได้ไปเล่นยูโรป้า คอนเฟอเรนซ์ ลีก

  • อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม (Amsterdamsche Football Club Ajax)

ที่น่ายกย่องมากกว่าการเป็นศูนย์กลางปั้นนักเตะคุณภาพสูงถึงสูงมากออกสู่สโมสรยักษ์ใหญ่ทั่วยุโรป คือในขณะที่ อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม ยอมปล่อยนักเตะดีๆ ออกไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า พวกเขาก็ยังยืนระยะประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่องปีแล้วปีเล่า จากแชมป์ลีกหนแรกปี 1918 จนถึงแชมป์ล่าสุดซีซั่นที่แล้ว 2022 นับรวมเป็นแชมป์ 36 สมัย สูงที่สุดในประเทศ (เคเอ็นวีบี คัพ 20 / ชปล. 4)

ไม่ต่างกันกับซีซั่นนี้ 2002/23 ที่ขายออกเพียบทั้ง อันโตนี่ (95 ล้านยูโร), ลิซานโดร มาร์ติเนซ (57), เซบาสเตียง อัลแลร์ (31), ไรอัน กราเฟนเบิร์ช (18.5), นิโกลัส ตายาฟิโก้ (4.2) หรือ อันเดร โอนาน่า กับ นูสแซร์ มาซราอุย ที่ย้ายฟรีทั้งคู่ แต่ผลงานของพวกเขาก็ยังออกมาดี เป็นตัวเก็งเต็งแชมป์เอเรอดีวีซีเหมือนเช่นเคย

  • พีเอสวี ไอนด์โฮเฟ่น (Philips Sport Vereniging)

สโมสรที่สร้างขึ้นจากการรวมตัวของพนักงานบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า ฟิลิปส์ (Philips) จัดเป็นทีมเบอร์ 2 ของเนเธอร์แลนด์ เจ้าของแชมป์ 24 สมัย ได้แชมป์ 3 ครั้งในรอบ 7 ซีซั่นหลัง แต่ก็เคยก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 อยู่เป็นพักๆ เช่นช่วงกลางยุค 80 และต้นมิลเลนเนียม ที่ครองเจ้าแห่งลีกกังหันได้ 4 ปีซ้อนในทั้งสองช่วง จนถึงก้าวไปฟาดถ้วยยูโรเปี้ยน คัพ มาแล้วหนหนึ่งด้วยในปี 1988 (ชนะจุดโทษเบนฟิก้า)

  • เฟเยนูร์ด ร็อตเตอร์ดัม (Feyenoord Rotterdam)

ถัดจาก อาแจ็กซ์ และ พีเอสวี ก็เป็น เฟเยนูร์ด ร็อตเตอร์ดัม ที่จัดเป็นเบอร์ 3 ในบรรดาบิ๊กทรี ครองแชมป์ลีกมาแล้ว 15 สมัย แต่ก็ได้แชมป์แค่หนเดียว (2016/17) ในรอบยี่สิบปีหลัง กระนั้นสิ่งสำคัญคือสโมสรเก่าแก่อายุ 114 ปีรายนี้ เป็นทีมดัตช์รายแรกที่ก้าวไปคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ มาครองได้ ในปี 1970 ที่ชนะ เซลติก 2-1 นัดชิง

  • ทเวนเต้ (Football Club Twente)

ทีมตราม้าเจ้าของแชมป์ฮอลแลนด์เอเรอดีวีซี 1 สมัย (2009/10) กับบอลถ้วย เคเอ็นวีบี คัพ 3 หน มีประวัติศาสตร์กับคนอังกฤษมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ที่มี บิลลี่ แอชครอฟท์ เป็นดาวซัลโว 21 ประตูในปี 1983/84 จากนั้นก็ได้อดีตกุนซือทีมชาติอังกฤษ สตีฟ แม็คคลาเรน เข้าคุมทีมสองรอบ (2008-2010 และ 2012-2013) ซึ่งก็เป็นในช่วงของ “บิ๊กแม็ค” นี่เองที่ได้แชมป์ลีกมาครอง

  • สปาร์ต้า ร็อตเตอร์ดัม (Sparta Rotterdam)

แรกสุดสโมสรแห่งนี้สร้างขึ้นในฐานะของทีมคริกเก็ต (1888) แต่ก็คลอดเซ็กชั่นฟุตบอลตามมาในเวลาคล้อยหลังไม่นาน ทว่าทำไปทำมา เซ็กชั่นคริกเก็ตก็ถูกยุบไปเสีย โดยถือว่า สปาร์ต้า เป็นอีกแหล่งปลุกปั้นนักเตะที่สำคัญ เช่น เมมฟิส เดอปาย, จอร์จินโย่ ไวจ์นัลดุม, เควิน สตรอทมัน

  • ฮีเรนวีน (Sportclub Heerenveen)

มีหนึ่งในตำนานแข้งดัตช์อย่าง อาเบ เลนสตร้า (Abe Lenstra) เป็นที่เชิดหน้าชูตาในฟุตบอลสมัยโบราณ 1936–1955 ชนิดยิงกระจาย 471 ประตูจาก 395 เกมลีก พาทีมครองแชมป์ Northern First Division ถึง 10 สมัย จนเมื่อมีโอกาสสร้างรังเหย้าใหม่เป็นของตัวเองในปี 1994 ฮีเรนวีน ก็ตั้งชื่อสนามว่า อาเบ เลนสตร้า สตาดิโอน

  • อูเทร็คท์ (Football Club Utrecht)

เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของ 3 สโมสรในเมืองอูเทร็คช์ ประสบความสำเร็จในบอลถ้วย เคเอ็นวีบี คัพ ด้วยการคว้าแชมป์ 3 สมัย แต่ไม่เคยได้แชมป์ลีกสูงสุดมาก่อน กระนั้นก็นับเป็นทีม “นอกบิ๊กทรี” เพียงรายเดียวที่ไม่เคยตกชั้นหลุดออกจากมาก่อนเลย

  • โก อเฮด อีเกิ้ลส์ (Go Ahead Eagles)

ก่อนจะมาเป็นชื่อสุดเท่อย่าง “ไปเลยเจ้านกอินทรี!” อย่างในตอนนี้ พวกเขาเคยใช้ชื่อว่า “Be Quick” มาก่อน ก่อนที่สมาคมบอลดัตช์จะขอให้เปลี่ยนในปี 1905 นี่คือต้นสังกัดอาชีพแห่งแรกของตำนานอย่าง มาร์ก โอเวอร์มาร์ส รวมทั้งยังเป็นต้นสังกัดสุดท้ายของเจ้าตัวก่อนแขวนสตั๊ดเลิกเล่นด้วย

  • วิเทสส์ อาร์เนม (SBV Vitesse Arnhem)

หนึ่งในทีมสูงวัยที่สุดของเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งกว่า 130 ปีมาแล้ว เพียงแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอะไรนัก ได้แชมป์บอลถ้วย 1 หน ไม่เคยได้แชมป์ลีก แต่ถูกพูดถึงบ่อยในช่วงหลายปีหลัง จากการทำสัญญาพันธมิตรกับ เชลซี รับนักเตะสิงห์ (เนมานย่า มาติช, เมสัน เมาท์, อาร์มันโด้ โบรย่า ฯลฯ) ไปฝึกงานแบบยืมตัว.

ติดตามฟุตบอลหรือดูบอลออนไลน์กับเราได้ที่ guidebet.com