ตารางคะแนนออสเตรียเอลีกบุนเดสลีก้า

แม้จะมีประวัติศาสตร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 แต่ก็อยู่ในสถานะ “กึ่งอาชีพ” มาอย่างยาวนาน จนเข้าสู่ยุค 70 หรือปี 1974 เป็นต้นมาที่เกิดเป็นการแข่งขันลีกอาชีพเต็มตัว เป็นตารางคะแนนออสเตรียเอลีกบุนเดสลีก้า (Austrian Football Bundesliga) เพียงแต่การนับจำนวนแชมป์ของแต่ละทีม ก็ย้อนรวบไปถึงตอนเริ่มก่อตั้งเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ส่งผลให้ ราปิด เวียนนา เป็นเจ้าของบัลลังก์แชมเปี้ยนสูงสุด 32 สมัย

ตารางคะแนนออสเตรียเอลีก

ระบบการแข่งขันลีกในตารางคะแนนออสเตรียเอลีกบุนเดสลีก้า

โปรดอย่าสับสนกับแดนจิงโจ้ นี่คือ ชาติเล็กๆ ตอนกลางของยุโรป พื้นที่เล็กกว่าประเทศไทย 6 เท่า ซึ่งด้วยเหตุผลนี้เองทำให้จำนวนทีมในตารางคะแนนออสเตรียเอลีกบุนเดสลีก้ามีแค่ 12 สโมสร เตะกันแบบเหย้าเยือนในฤดูกาลปกติ Regular season 22 นัด จากนั้นคัดเอาครึ่งบน (1-6) ไปเตะชิงแชมป์ Championship round พร้อมกับครึ่งล่าง (7-12) ไปเตะหนีตาย Relegation round เป็นจำนวน 10 นัด และการคิดคะแนนในท้ายที่สุด, แม้จะแยกโซนกันแล้ว, แต่ก็ยังรวมแต้มทั้งหมดที่ได้จาก 32 เกมตลอดซีซั่น

ในส่วนของโควต้ายูฟ่า แชมป์กับรองแชมป์ไปแชมเปี้ยนส์ ลีก, อันดับ 3 ไปยูโรป้า ลีก และอันดับ 4 ไปยูโรป้า คอนเฟอเรนซ์ ลีก รวมถึงอันดับ 5 กับ 1-2 ของโซนหนีตกชั้น ไปเตะเพลย์ออฟร่วมกันอีกต่อเพื่อชิงตั๋วยูโรป้า คอนเฟอเรนซ์ ลีก อีกใบ ด้านทีมตกชั้น คัดเอาแค่อันดับสุดท้ายของโซนหนีตกชั้นร่วงสู่ลีกา 2 รายเดียวเท่านั้น

10 สโมสรน่าสนใจแห่งลีกในตารางคะแนนลีกออสเตรีย

ลีกเล็กในตารางคะแนนลีกออสเตรีย ทีมไซส์เล็ก สนามของแต่ละรายก็จึงค่อนข้างเล็ก จิ๋วสุดคือสนามของ ฮาร์ทแบร์ก ที่จุแค่ 4,600 คนเศษ และยังมีอีก 5 แห่งที่จุได้หลักพัน ขณะที่สนามของ คลาเกนฟวร์ต ใหญ่สุด 32,000 ที่นั่ง ส่วนรายละเอียดน่าสนใจอื่นๆ ของทีมในลีก คัดมาแล้วดังนี้…

  • ราปิด เวียนนา (Rapid Wien)

ทีมเก่าแก่ (123 ปี) ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในตารางคะแนนออสเตรียบุนเดสลีกา คว้าแชมป์ลีกถึง 32 สมัย ทั้งยังเคยไปถึงรอบตัดเชือก ยูโรเปี้ยน คัพ 1960/61 มาแล้ว (แพ้ เบนฟิก้า สกอร์รวม 1-4) และเป็นรองแชมป์ คัพ วินเนอร์ส คัพ 2 สมัย (1985, 1996) อย่างไรก็ตาม ราปิด เวียนนา ก็ไปถึงแชมป์ลีกเพียง 2 หนเท่านั้นในรอบ 25 ปีหลัง

  • เวียนนา (FK Austria Wien)

คู่อริร่วมนครหลวงของ ราปิด เวียนนา โดยที่ เวียนนา เป็นเสมือนทีม “เบอร์ 2” ของประเทศ จากการครองแชมป์ลีก 24 สมัย เป็นรองก็แค่ ราปิด รายเดียว ทว่าในส่วนของบอลถ้วย คัพ แล้ว ทีมสีม่วงรายนี้คือเต้ย ครองแชมป์สูงสุด 27 สมัย โดยเฉพาะไม่นานมานี้ที่ฟาดโทรฟี่รัวๆ 5 รอบ 2003, 2005, 2006, 2007 และ 2009

  • เร้ดบูลล์ ซัลซ์บวร์ก (Red Bull Salzburg)

หากว่า 2 ทีมคู่แค้นจากเวียนนาคือ 2 ยักษ์ ก็ต้องถือว่า เร้ดบูลล์ ซัลซ์บวร์ก ทีมแฟรนไชส์ค่ายกระทิงแดง (เข้าเทกโอเวอร์ ซัลซ์บวร์ก ปี 2005) คือ “เบอร์ 1 ยุคนี้” ที่ยึดแชมป์มาต่อเนื่องในตลอด 9 ซีซั่นหลัง และ 13 หนใน 16 ปีล่าสุด ซึ่งนั่นมาจากหลายองค์ประกอบ ทั้งเงินทุนที่หนาและการจิ้มเลือกนักเตะได้อย่างยอดเยี่ยม ช่วงหลังมีทั้ง ทาคุมิ มินามิโนะ, ฮวาง ฮี-ชาน, อมาดู ไฮดาร่า, แพ็ทสัน ดาก้า และ เออร์ลิ่ง เบราท์ ฮาแลนด์ ที่ตูมตามโครมครามกับพวกเขา

  • สตวร์ม กราซ (Sturm Graz)

ทีมสีขาวดำเจ้าของแชมป์ลีก 3 สมัย ช่วงหลังตีตั๋วไปเตะถ้วยยุโรปอย่างสม่ำเสมอ แต่ก็ตกรอบเร็วมันทุกครั้งไป กระนั้นต้องถือว่า สตวร์ม กราซ เป็นทีมขวัญใจแฟนๆ จากการสำรวจเมื่อปี 2008 พบว่าพวกเขามีแฟนบอลถึง 360,000 คนในประเทศ (เป็นรองแค่ ราปิด เวียนนา) และในยุโรปก็มีถึงกว่า 4 แสนคน นับเป็นอันดับ 117 ของโลก

  • แอลเอเอสเค (LASK)

จากที่ถือกำเนิดในชื่อ “ลินเซอร์ อัธเลทิค” และครองแชมป์ลีก 1 สมัย (1964/65) พวกเขาทำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องชื่อ โละทิ้งคำว่า “ลินซ์” (LINZ) ออกจากโลโก้สโมสร พร้อมเรียกตัวเองว่า แอลเอเอสเค ห้วนๆ เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมานี่เอง แต่ว่าก่อนหน้านั้นก็ผ่านการตกต่ำถึงขีดสุด ล้มละลายและตกชั้นสู่ลีกา 3 ในปี 2012 มาแล้ว

  • คลาเกนฟวร์ต (Austria Klagenfurt)

ทีมเจ้าของสนาม เวิร์ทเธอร์ซี สตาดิโอน ที่ใหญ่สุดในลีก มีจุดเริ่มต้นสลับซับซ้อนไม่น้อย เมื่อที่จริงแล้วเป็นทีมใหม่ที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2007 ภายหลังความพยายามผลักดันให้เกิดสโมสรฟุตบอลขึ้นในรัฐคารินเธีย ทางตอนใต้ อยู่นานปี พร้อมกับรับเอาประวัติศาสตร์, ชื่อสโมสร และอะไรต่างๆ นานาของ เอสเค คลาเกนฟวร์ต ที่สร้างทีมไว้เมื่อยุค 1920 แล้วแตกดับไปในเวลาต่อมา เอามาเป็นของตัวเอง (ดื้อๆ อย่างนั้นแหละ)

  • โวล์ฟสแบร์เกอร์ (Wolfsberger AC)

ทีมตราหมาป่า (แฟนบอลมักเรียกว่า “RZ Pellets WAC”) ที่เข้าถึงรอบน็อกเอาต์ยูโรป้า ลีก 2020/21 ก่อนแพ้ สเปอร์ส ยับเยินสองนัด 1-8 นั้น ขยับขึ้นมาเล่นลีกสูงสุดได้ประมาณ 10 ปี ภายหลังครองแชมป์ลีกา 2 และเลื่อนชั้นได้เป็นครั้งแรกในการก่อตั้งสโมสร โดยในช่วงหลังทำได้ดีทีเดียว คว้าโควตาเล่นถ้วยยุโรปอย่างต่อเนื่อง

  • ลุสเตเนา (SC Austria Lustenau)

ทำเซอร์ไพรส์ด้วยการเข้าชิงชนะเลิศ คัพ 2020 ทั้งที่เวลานั้นยังอยู่ในลีกา 2 แต่สุดท้ายก็แพ้ เร้ดบูลล์ ซัลซ์บวร์ก ขาดลอย 0-5 เพียงแต่หลังจากนั้นไม่นาน–หรือก็คือซีซั่นนี้ ที่ ลุสเตเนา เด้งขึ้นสู่ตารางคะแนนลีกออสเตรียได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี จากที่เป็นแชมป์ลีกา 2 ซีซั่นก่อน

  • ติโรล (WSG Tirol)

นี่คือ ดับเบิ้ลยูเอสจี ติโรล (Wattener Sportgemeinschaft Tirol) ไม่ใช่ ซุดติโรล ที่เป็นทีมในลีกรองของอิตาลี โดยพวกเขาไม่เคยครองแชมป์เมเจอร์รายการใดมาก่อน และเพิ่งขึ้นชั้นมาเล่นในบุนเดสลีกาเมื่อปี 2019 พร้อมได้สปอนเซอร์รายใหญ่มาหนุนหลัง จนมีการเปลี่ยนชื่อเป็น WSG Swarowski Tirol กระนั้น อยู่ได้ 2 ปี บริษัทเครื่องประดับชื่อดังก็ถอนตัวไปเสียแล้ว

  • เอสวี รี้ด (SV Ried)

ไม่ได้ถึงกับขายวิญญาณ แต่ เอสวี รี้ด เป็นอีกทีมที่ยอม “ขายชื่อสโมสร” ให้กับสปอนเซอร์ จนเวลานี้ต้องใช้ชื่อเต็มว่า SV Guntamatic Ried แถมยังมีการแปะชื่อผู้สนับสนุนลงในโลโก้สโมสรอีกด้วย ส่วนในแง่ฟุตบอล พวกเขาไม่เคยได้แชมป์บุนเดสลีกามาก่อน แต่เคยเป็นแชมป์คัพมาแล้ว 2 สมัย 1998 กับ 2011